หน่วยวิทยบริการจังหวัดสกลนคร
หน่วยวิทยบริการวิทยาเขตหนองคาย จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่
๒๑๙ หมู่ ๓
บ้านหนองโจด ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน
จังหวัดสกลนครรหัสไปรษณีย์
๔๗๑๖๐ โทรศัพท์ ๐-๔๒๗๗-๑๒๔๖
ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุ สามเณรและคฤหัสถ์ โดยพระราชทานนามว่า มหาธาตุวิทยาลัย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๐
และได้เปิดดำเนินการศึกษาเมื่อวันที่
๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช
๒๔๓๒
ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนจากมหาธาตุวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่
๒๒ กันยายน พุทธศักราช
๒๔๓๙
แต่ยังคงจัดการศึกษาเฉพาะปริยัติธรรมแผนกบาลีเท่านั้น ยังมิได้ดำเนินการศึกษาในรูปแบบอุดมศึกษาหรือรูปแบบมหาวิทยาลัยตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่
๙ มกราคม พุทธศักราช
๒๔๙๐ พระพิมลธรรม (ช้อย
ฐานทตฺตมหาเถร)
อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุสมัยนั้นพร้อมทั้งพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย จำนวน
๕๗ รูป ได้ประชุมพร้อมกันที่ตำหนักสมเด็จฯ วัดมหาธาตุ
ปรึกษาหารือได้ข้อยุติที่จะเปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย
เปิดรับผู้สนใจวิชาพระพุทธศาสนาพระปริยัติสัทธรรมชั้นสูง ภาษา
ต่างประเทศและวิทยาการบางอย่างอันเป็นอุปกรณ์แก่การค้นคว้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พุทธศักราช ๒๔๙๐
ประกาศใช้ระเบียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เปิดรับพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๔
ประโยคขึ้นไปเข้าศึกษา
พระภิกษุสามเณรที่เข้าศึกษารุ่นแรกนี้มีจำนวน ๑๕๖
รูป เปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๘
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐
โดยจัดให้เรียนวิชาพื้นฐาน
เรียกว่า
การศึกษาระดับชั้นอบรมพื้นความรู้จนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษาเป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๐-๒๔๙๔
จากนั้นให้เรียนต่อระดับปริญญาตรีในคณะพุทธศาสตร์ ซึ่งเปิดเป็นคณะแรก รับพระภิกษุสามเณรที่จบชั้นเตรียมอุดมศึกษานี้และเป็นผู้สอบได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๔
ประโยคขึ้นไป
จำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาปีแรกในคณะพุทธศาสตร์ ปีการศึกษา
๒๔๙๔ จำนวน ๑๖ รูป สำเร็จการศึกษาในปี ๒๔๙๘
พุทธศาสตรบัณฑิตรุ่นแรกจำนวน
๖ รูป
พุทธศักราช ๒๕๑๒
มหาเถรสมาคมได้ออกคำสั่งเรื่อง
การศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๑๒ จำนวน
๑๒ ข้อ สาระสำคัญของข้อ ๓
ระบุส่วนที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไว้ว่า
“ให้การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์
ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว
เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์”
พุทธศักราช ๒๕๒๗
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๙ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทางพระพุทธศาสนา พ.ศ.
๒๕๒๗ โดยมาตรา ๔
(๓) กำหนดไว้ว่า
“ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า
“พุทธศาสตรบัณฑิต”
ใช้อักษรย่อว่า “พธ.บ.”
พุทธศักราช ๒๕๓๐
สภามหาวิทยาลัย ประกาศใช้ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่าด้วยการบริหาร ๒๕๓๐
พุทธศักราช ๒๕๔๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๙ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล และเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่
๑๑๔ ตอนที่ ๕๑
ก ลงวันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๔๐
ในส่วนของจังหวัดสกลนครนั้น เมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะสงฆ์และศรัทธาประชาชนจังหวัดสกลนคร นำโดย
พระเทพวิสุทธาจารย์
(หลวงปู่กง โฆสโก)
มีเจตนาที่จะพัฒนาคุณภาพของพระภิกษุสามเณรและบุคลากรของพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น จึงขอเปิดหลักสูตรคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาดำเนินการ
ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อำเภอเมือง
จังหวัดสกลนคร
และได้ดำเนินการเสนอขอเปิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และได้รับอนุมัติให้เปิดเป็น “หน่วยวิทยบริการ”
ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่
๑๖ มิถุนายน ปีการศึกษา
๒๕๔๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น